วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

potatogmo

รายงาน
เรื่อง มันฝรั่ง GMO
http://www.eco-agrotech.com/images/1175763211/potato-gmo-01.gif

เสนอ
คุณครู รตนัตยา  จันทนะสาโร
จัดทำโดย
1.           นางสาว  ยุวดี  แคล้วณรงค์
2.           นางสาว   อมรา    โกติรัมย์
3.           นางสาว   ปัทมา    นิลนนท์
4.           นางสาว สุนารี   กลับมารัมย์

กลุ่ม3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยา ว33244
ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษาปีที่  2554
คำนำ
            รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยา รหัสวิชา ว33244 ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่องพันธุวิศวกรรม โดยศึกษาในเรื่องมันฝรั่ง GMO
ความเชื่อมั่นต่อ gmo พันธุ์ใหม่  การวิจัย และสินค้า GMOs : ความมั่นคงและความปลอดภัยทางด้านอาหารและการบริโภค    กลุ่มของข้าพเจ้าได้รวบรวมข้อมูลมาจัดทำเป็นรายงานเล่มนี้ ข้าพเจ้าหวังว่ารายงานเล่มนี้คงเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีความสนใจ และผู้ที่ได้อ่านศึกษาข้อมูล ไม่มากก็น้อย

  หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

                                                                       

                                                                                                            คณะผู้จัดทำ













สารบัญ
  เรื่อง                                                                                                              หน้า

  GMOs                                                                   1

ความเชื่อมั่นต่อ GMOs พันธุ์ใหม่                                 3

การวิจัย                                                   5
สินค้า GMOs : ความมั่นคงและความปลอดภัยทางด้านอาหารและการบริโภค  6










      GMOs     (Genetic Modified Organism) 
          
เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่กำลังเป็นที่สนใจในปัจจุบัน ได้แก่การใช้
วิธีทางพันธุวิศวกรรม โดยการตัดต่อ จีน (Gene) ที่เรียกว่า GMOs เป็นการ
ดัดแปลงสารพันธุกรรมหรือการตัดแต่งจีน      โดยการตัดเอาชิ้นส่วนของจีนที่
ต้องการของพืช สัตว์     หรือจุลินทรีย์ไปใส่ในโครโมโซมภายในเซลล์ของพืช เพื่อให้เกิดเซลล์ใหม่ แล้วนำเซลล์ใหม่ไปเพาะเลี้ยง จะได้พันธุ์พืชที่มีจีนซึ่งมีี
คุณสมบัติตามที่ต้องการ เช่น คุณสมบัติในการต้านทานต่อสารเคมี คุณสมบัติ
ในการต้านทานแมลง เป็นต้น พืชที่ได้เรียกว่า พืชจำลองพันธุ์   พืชที่นำมาใช้
ในการตัดแต่งจีนในปัจจุบัน ได้แก่ ฝ้าย มะเขือเทศ มะละกอถั่วเหลือง ข้าวโพด มันฝรั่ง
เป็นต้น
        จะเห็นว่าการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการขยายพันธุ์และปรับปรุง
พันธุ์พืชนั้น   เราสามารถคัดเลือกพันธุ์โดยเจาะจงไปที่จีนที่ต้องการโดยตรง โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ก่อนแล้วคัดเลือกลูกผสมที่มีลักษณะตามที่ต้องการภายหลัง
ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องใช้เวลานานดังนั้น     การนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้กับพืช
จึงสามารถกำหนดคุณสมบัติของพืชได้ตามที่เราต้องการ     ทำให้ได้ประโยชน์
มากมายตามมา    อาจกล่าวถึงประโยชน์ของการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมา
ใช้ในการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุืพืชโดยสรุปดังนี้
         1.
ทำให้ได้พันธุืพืชที่มีคุณสมบัติต้านทานสารเคมี ช่วยลดการใช้สารเคมี 
ทำให้ประหยัดต้นทุน และยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อมอีกด้วย
         2.
ทำให้เกิดพันธุ์พืชที่ต้านทานแมลง   ช่วยลดการใช้สารเคมี    ประหยัด
ต้นทุน และรักษาสภาพแวดล้อม เช่น ฝ้าย มะเขือเทศ  ข้าวโพด เป็นต้น
        3.
ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวสามารถเก็บรักษาได้นาน   เนื่องจากมีคุณสมบัติใน
การสุกงอมช้า จึงขนส่งได้ไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น กล้วย มะเขือเทศ ข้าวโพด เป็นต้น
         4.
ทำให้ได้พันธุ์พืชที่ต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรีย ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
         5.
ทำให้ได้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตจำนวนมากและเจริญเติบโตได้ดีในสภาพ
แวดล้อมที่ไม่เหมาะสมแม้ว่าการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการขยายพันธุ์   และปรับปรุง
พันธุ์พืชจะมีประโยชน์มากมาย   แต่ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิด
ขึ้นในอนาคตด้วย    ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพได้เข้ามีบทบาท  และสามารถตอบสนองความ
ต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น   เพราะนอกจากการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้
ประโยชน์ในการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช  แล้วยังสามารถนำมาใช้ในด้าน
อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น  
          
การเกษตร   เราสามารถพัฒนาและปรับปรุงพันธุืพืชเพื่อให้ได้คุณลักษณะ
ของพืชที่ดีตามที่มนุษย์ต้องการ เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีลักษณะทนต่อความ
แห้งแล้งได้ดี สามารถปลูกในที่ที่ขาดน้ำซึ่งเป็นการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีความ
สามารถในการเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ไม่ี่เหมาะสม      นอกจากนี้ยัง
สามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร   เช่น   สี   และขนาด   
รวมถึงรูปร่างผลผลิต เพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการได้อีกด้วย เช่น การปรับปรุง
พันธุ์มะเขือเทศให้มีสีแดงสดและมีปริมาณเนื้อมะเขือเทศสูง เป็นต้น นอกจากนี้
ยังทำให้สามารถเก็บรักษาผลผลิตให้อยู่ได้นานเนื่องจากการสุกงอมช้า   สามารถ
ส่งไปขายได้ไกลโดยไม่เน่าเสีย   เช่น มะเขือเทศที่ยืดอายุการสุกงอม เป็นต้น 
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรได้    เนื่องจากสามารถยืดระยะเวลา
ไม่ให้เกิดความเสียหายในการขนส่งระยะทางไกลได้
          
อุตสาหกรรม     เทคโนโลยีชีวภาพถูกนำมาใช้ในด้านอุตสาหกรรมการ
ผลิตเครื่องดื่ม ประเภทแอลกอฮอล์ โดยอาศัยหลักการทำงานของจุลินทรีย์ในการ
เปลี่ยนแป้งและน้ำตาลให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ  เรียกกระบวนการนี้ว่า 
การหมักดอง เช่น ไวน์ เบียร์ เกิดจากการหมักแป้งและน้ำตาลด้วยยีสต์ เป็นต้น 
          
การผลิตอาหาร     ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพมีบทบาทสูงมากในการยก
ระดับมาตรฐานการผลิตอาหารให้มีคุณภาพสูงขึ้น       การนำผลิตภัณฑ์จากพืช
จำลองพันธุ์มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารจะช่วยให้ได้คุณภาพของอาหาร
ตามที่มนุษย์ต้องการ เนื่องจากสามารถเพิ่มปริมาณสารประกอบที่ต้องการได้ 
เช่น    การผลิตอาหารเพื่อเพิ่มวิตามินหรือเอนไซม์ชนิดต่าง ๆ เพื่อให้อาหารมี
คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เป็นต้น
          
การแพทย   เทคโนโลยีชีวภาพที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์ คือ   การผลิตยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ขัดขวางการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
ที่ทำให้เกิดโรค   นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพยังช่วยให้สามารถผลิตวัคซีนใช้ 
สำหรับป้องกันโรคได้อีกด้วย ตัวอย่างผลผลิตของเทคโนโลยีชีวภาพที่รู้จักกันดี 
ได้แก่ อินซูลิน   ซึ่งเป็นสารควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็น
โรคเบาหวาน เป็นต้น 

มันฝรั่ง

มันฝรั่ง (Potato) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรมเช่นเดียวกันกับข้าวโพด โดยใช้การตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus thuringiensi ==]] s เข้าไปในยีนของมันฝรั่ง ทำให้มันฝรั่งที่ได้รับการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้วมีคุณค่าทางสารอาหารเพิ่มขึ้น (เพิ่มปริมาณโปรตีน) และในบางชนิดยังสามารถผลิตวัคซีนที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์อีกด้วย

ความเชื่อมั่นต่อ GMOs พันธุ์ใหม่

       
ความสำเร็จจากการตัดต่อสารพันธุกรรมที่เห็นทั่วไป ตั้งแต่พืช ผัก ผลไม้ เนื้อวัว (ที่นำเข้าหรือที่เลี้ยงและเพาะอยู่ในเขต หรือแปลงทดลองพันธุ์ให้ภูมิต้านทานโรคสูงให้เนื้อและนมมากกว่า) ฝ้าย (ที่ทนต่อหนอนสมอ) มะละกอ (ที่มีไวรัสต้านทานโรคจุดวงแหวน) มะเขือเทศ (ที่สุกช้าเก็บไว้ได้นาน) จนถึงผลิตภัณฑ์ที่วางอยู่ตามชั้นวางสินค้าในซุปเปอร์มาเก็ตซึ่งมีราคาถูกกว่า เช่น มันฝรั่งทอด ซอสมะเขือเทศ น้ำมันพืชจากถั่วเหลือง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม รางวัลที่ได้จากการใช้พันธุวิศวกรรมกำลังกลายเป็นปรปักษ์ต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
และขยายวงกว้างไปยังประชากรในภูมิภาคต่างๆ ของโลก นับตั้งแต่ยุโรป ออสเตรเลีย หรือแม้ แต่ในสหรัฐฯ และอังกฤษ

ทำอย่างไรให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นในการบริโภคพืชพันธุ์ใหม่ และทำอย่างไรจึงจะทำให้อาหารจากจีเอ็มโอเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผู้ผลิต การค้าการส่งออก และแม้แต่สิ่งแวดล้อมโดยปราศจาก อันตราย

จีเอ็มโอเป็นความหวังที่ดีที่สุดของการผลิตอาหารให้มีมากเพียงพอกับความต้องการและผลิตกลับมาสู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วเป็นการลดต้นทุนการผลิตและเวลา ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ที่ส่วนใหญ่ขาดเงินและมีอาหารจำกัด ดังเช่น การพัฒนาพันธุ์ข้าวคลองหลวง 1ที่คัดเลือกสายพันธุ์จากข้าวขาวดอกมะลิ 105 มาพัฒนาพันธุ์ร่วมกับข้าว ก.ข. ของภาคกลาง ให้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี มีคุณภาพ และความหอมใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 นั้น ต้องใช้เวลาสำหรับการพัฒนาตามมาตรฐานเดิม เพื่อให้ได้ข้าวที่มีความเด่นรวมอยู่ในพันธุ์เดียวกันนี้ถึง 14 ปี นับเป็นเวลาที่ยาวนาน หากนำการตัดต่อสารพันธุกรรมมาใช้จะย่นเวลาเหลือไม่กี่ปี


      
อาหารจีเอ็มโอทั้งหมดควรมีการตรวจสอบก่อนนำอาหารดังกล่าวมาเสนอขายให้แก่ผู้บริโภค ถึงแม้ในวงการวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ จะมีฉันทมติ อย่างกว้างขวางว่า พืชตัดต่อสารพันธุกรรม ในปัจจุบันปลอดภัย แต่กลุ่มต่อสู้เพื่ออาหารในยุโรปเรียกเจ้าพืชพันธุ์จีเอ็มโอนี้ว่า "แฟรงเกนสไตน์"หรือพืชผีดิบ แม้จะไม่ปฏิเสธว่า การตัดต่อทางพันธุกรรม ดังกล่าวเป็นประโยชน์หลายทาง เช่น ทำให้หนอนเจาะสมอฝ้ายเบื่ออาหาร ไม่มากัดกินดอกฝ้ายจนตายไป ไม่ต้องใช้สารเคมี และสารพิษฆ่าแมลงที่เกิดการสะสมจนเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งยังสามารถเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นและราคาจำหน่ายถูกกว่ามาก แต่จีเอ็มโอก็ยังถูกต่อต้านและถูกปฏิเสธผู้คนมากมายเกลียดเจ้าพืชผีดิบตัวนี้ ไม่เฉพาะประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป แต่ยังไม่เป็นที่นิยมบริโภคทั่วไป ไม่ใช่แค่เหตุผลที่พวกมันไม่ปลอดภัย แต่ความกังวลว่า DNA ที่ได้จากจุลินทรีย์ที่ ไม่ก่อให้เกิดโรค จะมีโอกาสกลายเป็น DNA ที่เกิดโรคหรือไม่ ที่สำคัญ ปัญหาการผูกขาด พันธุ์พืชหรือ พันธุ์สัตว์ที่คิดค้นขึ้นมาได้โดยมีสหรัฐฯ เป็นประเทศ ผู้นำทางเทคโนโลยีชีวภาพนี้ ย่อมเสียเปรียบอย่าง ยิ่งแก่ประเทศอื่นๆ บนเวทีการค้าโลก ที่ไม่สามารถ พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวได้ทัน

การวิจัย
http://www.eco-agrotech.com/images/1175763211/potato-gmo-01.gif





ประเทศในกลุ่มประชาคมยุโรปเตรียมอนุมัติให้ปลูก มันฝรั่งตัดต่อพันธุกรรม

คาดว่าทางกลุ่มประชาคมยุโรปจะยินยอมให้มีการปลูกมันฝรั่งตัดต่อพันธุกรรมในฤดูกาลเพาะปลูกที่จะถึงมานี้ โดยจะปลูกเป็นอุตสาหกรรมเกษตรในเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งกำลังเป็นที่จับตาสังเกตจากกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ กรีนพีซ อย่างใกล้ชิด
http://www.eco-agrotech.com/images/1175763211/potato-gmo-02.gif
มันฝรั่งตัดต่อพันธุกรรมสายพันธุ์นี้มีชื่อว่า Am flora ที่ปรับปรุงพันธุ์โดยบริษัท BASF ที่ได้ทำการดัดแปลงพันธุกรรมในการให้ผลผลิตแป้งจากหัวมันนั้นอยู่ในรูปของโครงสร้างที่เป็นกิ่งสาขา (Amylopectin) เกือบทั้งหมด ซึ่งจะแตกต่างจากแป้งที่มีอยู่ในหัวมันฝรั่งทั่วๆไปที่มีโครงสร้างของแป้งแบบผสมทั้ง แบบสายโซ่ตรง (Amylose) และแบบกิ่งสาขา โดยผลผิตผลมันฝรั่งพวกนี้จะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการนำมาบริโภค แต่จะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการทำกระดาษและผลิตภัณฑ์กาวยึดเกาะ ซึ่งจากการเปิดเผยของ Thornston Storck นักวิชาการพืชศาสตร์ของบริษัท BASF กล่าวว่า ทางบริษัทได้ทำการวิจัยและทดสอบปลูกมันฝรั่งที่ตัดต่อพันธุกรรมนี้มาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว และเฝ้าติดตามถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งความปลอดภัยทางด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมแล้ว ไม่มีผลเสียหายใดๆเกิดขึ้นทั้งสิ้น

สินค้า GMOs : ความมั่นคงและความปลอดภัยทางด้านอาหารและการบริโภค
1. พืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) และผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้น (GMFs)
1.1 พืชดัดแปลงพันธุกรรม
พืชดัดแปลงพันธุกรรม พืชจำลองพันธุ์ พืชแต่งพันธุ์ เหล่านี้ต่างเป็นศัพท์ที่ปรากฏขึ้นในปัจจุบันใช้เรียก GMOs กระบวนการสร้างหรือสังเคราะห์ GMOs เริ่มจาก การศึกษายีนควบคุมลักษณะต่างๆในสิ่งมีชีวิตเช่น ยีนสร้างสีของดอกไม้ ยีนสร้างโปรตีนที่ช่วยฆ่าแมลงต่างๆในรูปโปรตีนพิษ (Toxin) จากนั้นจะตัดยีนเป้าหมายด้วยเอนไซม์ตัดยีน ยีนเป้าหมายสามารถได้จากพืชด้วยกัน จากสัตว์ จากจุลชีพจำพวกแบคทีเรีย รา หรือแม้กระทั่งจากไวรัส การตัดต่อยีนจำเป็นต้องใช้พาหะ ถ้าเปรียบยีนเป็นธงชัยแล้ว จำเป็นต้องมีผู้ถือธงนั้น พาหะส่วนใหญ่อยู่ในรูปพลาสมิด ซึ่งคือสารพันธุกรรมอิสระที่อยู่ในแบคทีเรีย ดังนั้นยีนที่ตัดมาได้จะนำมาต่อกับพลาสมิดเพื่อสร้าง โครงสร้างหลักรองรับการทำงานของยีนในอนาคต กล่าวคือ มีโครงสร้างหลักของส่วนควบคุมระดับและจังหวะในการแสดงออก (Promotor : โปรโมเตอร์) และส่วนกำกับการสิ้นสุดและเสถียรภาพของยีน (Terminator : เทอร์มิเนเตอร์) การตัดต่อที่เหมาะสมจะเกิดโครงสร้างของยีนครบชุด คือมีทั้งโปรโมเตอร์ ยีน และเทอร์มิเนเตอร์ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้พลาสมิดสำเร็จรูปที่มีโครงสร้างรองรับไว้ หรือจะจัดทำโครงสร้างเหล่านั้นเองได้ หลังจากที่ได้พลาสมิดที่มีโครงสร้างสมบูรณ์แล้ว จะทำการถ่ายยีนเหล่านั้นเข้าสู่พืชเป้าหมายต่อไป การถ่ายยีนเสมือนเป็นเรือที่พาผู้ถือธงไปยังอีกฝั่งหนึ่ง การถ่ายยีนสามารถทำได้โดยการใช้แบคทีเรียอะโกรแบคทีเรีย (Agrobacterium tumefacien) เป็นสื่อนำ ให้ยีนเข้าสู่พืช หรือการใช้กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำให้ยีนครบชุดนั้นเข้าสู่พืช (วิธีอีเล็กโตรโพเลชั่น : electroporation) หรือนำยีนไปเคลือบไว้บนอนุภาคทองคำแล้วยิงอนุภาคเหล่านั้นเข้าไปในพืช (วิธีพาทิเคิ้ลกัน : Particle gun) ขั้นตอนนี้จะใช้ชิ้นส่วนพืชในรูปของเนื้อเยื่อพืช ปกตินักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องถ่ายยีน 2 ชุด คือชุดยีนเป้าหมาย และชุดยีนที่ช่วยในการคัดเลือก ยีนชุดหลังใส่เพิ่มเข้ามาเพื่อช่วยให้การคัดเลือกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทำได้ง่ายขึ้น ภายหลังการถ่ายยีนเข้าสู่พืชจะเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเหล่านั้น คัดเลือก และทำการประเมินผล ไปพร้อมๆกัน จนได้พืชดัดแปลงพันธุกรรมในท้ายที่สุด การนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาศึกษาการทำงานต่างๆ ในสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่การนำพืชเหล่านั้นมาจำหน่ายเป็นการค้า ต้องผ่านขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง และความปลอดภัยระดับหนึ่งก่อน นักวิทยาศาสตร์สร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรมออกมามากมาย แต่ที่ได้รับอนุญาติให้สามารถวางขายและหมุนเวียนในตลาดโลก ได้แก่ ข้าวโพด มันฝรั่ง คาโนล่า (เรบซีด) ถั่วเหลือง มะเขือเทศ ฝ้าย ยาสูบ ตามสัดส่วนจากมากไปน้อย ตามลำดับ
พืชจำพวกข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วเหลือง และมะเขือเทศ เป็นวัตถุดิบหลักต้นทางในการผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์อีกนานับชนิด และเป็นวัตถุดิบหลักที่ประเทศไทยมีการนำเข้าในสัดส่วนที่สูง
1.2 อาหารและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMF)
GMF เป็นคำที่ย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Genetically Modified Food ซึ่งหมายถึงอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือแปรรูปจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม และ/หรือ แปรรูปจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือมีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูป ตัวอย่างเช่น เต้าหู้ที่ผลิตจากถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม (ถั่วเหลือง GMOs) จัดเป็น GMF หรือน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปข้าวโพด GMOs อีกต่อหนึ่งก็จัดเป็น GMF
จากการศึกษาพบว่า มีผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป และอาหารแปรรูปไม่น้อยกว่า 3000 ชนิด ที่ใช้วัตถุดิบหรือมีส่วนประกอบในวัตถุดิบอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวข้องกับ GMOs ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวครอบคลุมแทบทุกชนิดของอาหารรวมทั้งอาหารหลักในแต่ละมื้อ เครื่องดื่ม อาหารเด็ก ขนมขบเคี้ยว และผลิตภัณฑ์อีกนานับชนิด ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะไม่สามารถกำหนดขอบเขตได้ชัดเจนว่าเป็นผลิตภัณฑ์ใดบ้าง ผลิตภัณฑ์บางชนิดแปรรูปไปจากสภาพเดิมมาก เช่น ชอคโกแล็ต ลูกกวาด ขนมบางชนิดที่ปรุงรส ต่างก็ใช้วัตถุดิบที่แปรรูป ใช้วัสดุปรุงแต่งสี กลิ่น และรส ที่ทำจากพืช GMOs ได้ ในชอคโกแล็ต จะมี Lecitin ที่ทำจากถั่วเหลือง ในขนมขบเคี้ยว แม้จะทำจากข้าวสาลีธรรมชาติ แต่อาจผ่านการปรุงแต่งรสด้วยสารปรุงแต่งรสที่ได้จากพืช GMOs ได้
สำหรับประเทศไทยวัตถุดิบต้นทางที่สำคัญที่เป็นพืช GMOs ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ และมะละกอ ทั้งหมดจัดเป็นพืชในกลุ่มแรกๆที่จะต้องจับตามอง ผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูป หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับวัตถุดิบต้นทางเหล่านี้ จำเป็นต้องได้รับความสนใจเป็นพิเศษ
2. ทำไมต้องกังวลกับผลิตภัณฑ์ GMF เหล่านี้
นักวิทยาศาสตร์คาดหวังว่าการดัดแปลงพันธุกรรมที่เปิดโอกาสให้สามารถออกแบบและปรับปรุงพันธุ์ให้ได้พันธุ์ที่มีศักยภาพสูง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจนไม่พอเพียงได้ แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก โดยเฉพาะความไม่มั่นใจว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมจะใช้เป็นอาหารที่มีความปลอดภัยเหมือนกับอาหารธรรมชาติหรือไม่ แม้ในอดีตขั้นตอนการอนุญาตให้มีการผลิตพืชเหล่านี้เป็นการค้าได้มีการวิเคราะห์องค์ประกอบเปรียบเทียบ ศึกษาความเหมือนทางเคมี ศึกษาผลกระทบโดยตรงต่อยีนเป้าหมายทั้งในแง่ความปลอดภัยในการบริโภคเบื้องต้น ปริมาณที่ปรากฏถึงระดับอันตราย และการย่อยสลายในสิ่งมีชีวิต แต่งานทดลองส่วนใหญ่ยังไม่ครอบคลุมถึงความปลอดภัยในการนำผลิตภัณฑ์ดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้ในระยะยาว โดยเฉพาะความปลอดภัยในการใช้เป็นอาหารและความปลอดภัยสำหรับสภาพแวดล้อม
2.1 หลัก Substantial equivalent
ความเทียบเท่าในแง่คุณค่าทางอาหาร องค์ประกอบทางเคมีและการใช้ประโยชน์ที่ไม่ต่างจากพันธุ์ธรรมชาติ substantial equivalent เป็นบรรทัดฐานอันดับต้นๆ ในการตรวจสอบความปลอดภัยในอาหาร
ผลิตภัณฑ์อาหาร และยาหลายชนิดที่ผลิตจากแบคทีเรีย GMOs ที่วางจำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะสอบผ่านเกณฑ์เหล่านี้ เนื่องจากโปรตีนต่างๆที่ผลิตขึ้นใหม่ ถูกผลิตในระบบปิด มีการสกัดเอาเฉพาะโปรตีนหลักให้บริสุทธิ์ และจากการวิเคราะห์โปรตีนที่สกัดได้ในระดับโมเลกุลพบว่าไม่มีความแตกต่างจากโปรตีนในธรรมชาติ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมิได้จำหน่ายในรูปแบคทีเรียที่เป็น GMOs เองแต่จำหน่ายในรูปโปรตีนสกัดบริสุทธิ์ จึงมีความปลอดภัยในระดับไม่ต่างจากโปรตีนที่ได้จากธรรมชาติ อย่างไรก็ดีในกรณีของพืช GMOs และผลิตภัณฑ์นั้นต่างไป เพราะเป็นการใช้ตัวพืช GMOs เอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายกรณีทั้งในแง่ชนิดของพืช ตัวยีนที่ใช้ และลักษณะการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่นในกรณีที่เป็นถั่วเหลือง และข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม โดยการตัดต่อยีนสร้างโปรตีนที่เป็นพิษต่อแมลง (Bt toxin) จะพบว่า ภายในเมล็ดธัญพืชเหล่านี้ แม้ว่าจะมีโปรตีนและปริมาณสารอาหารชนิดอื่นๆเทียบเท่าธรรมชาติซึ่งสอบผ่านในแง่ความเทียบเท่าเฉพาะในส่วนที่เหมือนกับธรรมชาติก็ตาม แต่ในเมล็ดธัญพืชเหล่านี้จะมีโปรตีน Bt toxin อยู่ โดยรวมแล้วถือว่าต่างไปจากธรรมชาติเป็นต้น นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีข้อมูลและผลตรวจสอบว่าการบริโภค Bt toxin ในระยะยาว จะเกิดผลเสียต่อสุขภาพหรือไม่แต่อย่างใด ในรายงานของ FDA ระบุว่า Bt toxin ไม่มีผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และแมลงชนิดอื่นๆเช่นผึ้ง ตัวเบียน ก็ตาม แต่จากผลการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยคอร์แนล โดยทีมนักวิทยาศาสตร์อีกชุดหนึ่ง พบว่า Bt toxin มีผลต่อตัวอ่อนของผีเสื้อโมนาร์ท ซึ่งเป็นแมลงที่ช่วยผสมเกสรและไม่ใช่ศัตรูพืช หรือแมลงในสกุล Lepidopthera กล่าวคือ ตัวอ่อนของผีเสื้อที่กินละอองเกสรจะตายภายใน 4 วัน มีการทดลองในลักษณะคล้ายกันในแมลงช้าง พบว่า แมลงช้างที่กินหนอนเจาะลำต้นซึ่งกินข้าวโพดที่มีโปรตีน Bt toxin ส่วนหนึ่งจะตายภายในเวลาไม่กี่วัน นอกจากนี้การทดสอบประเมินผลฝ้ายที่มีการตัดต่อยีน Bt toxin ในประเทศจีน พบว่า นอกจากตัวโปรตีนจะมีผลต่อหนอนเจาะสมอฝ้ายซึ่งเป็นศัตรูพืชแล้ว มดที่มากินหนอนเจาะสมอฝ้ายก็ได้รับพิษจากโปรตีนเช่นเดียวกัน
ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์เคยรายงานผลการวิจัยในโครงการตัดต่อยีนเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโปรตีนให้กับถั่วเหลือง พบว่าแม้ถั่วเหลืองจะมีคุณค่าของโปรตีนเพิ่มขึ้นจริงแต่ก็พบปริมาณสารบางชนิดในกลุ่ม phytoestrogen ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ใกล้เคียงฮอร์โมนเพศหญิงในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพิ่มมากขึ้น และระดับของ phytoestrogen ที่ตรวจพบก็สูงพอที่จะเป็นอันตรายต่อเด็กทารกได้โดยหลักการ การตัดต่อยีนอยู่บนพื้นฐานของการแทรกตัวของยีนไปต่อเข้ากับพืชอย่างสุ่ม และไม่สามารถระบุตำแหน่งของยีนได้ ผลกระทบอันเกิดจากการตัดต่อยีนชนิดหนึ่งอาจออกมาในรูปที่มิอาจคาดเดาได้เฉกเช่นกับผลของระดับ phytoestrogen ที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
2.2 โอกาสที่จะก่อให้เกิดภูมิแพ้
ปัจจุบันกฎเกณฑ์ในการตรวจสอบอยู่บนหลักฐานในการตรวจสอบโมเลกุลของสารที่ต้องสงสัยกับตัวอย่างของสารที่มีรายงานผลแล้ว ว่าสามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้ 126 ชนิด การตรวจสอบดังกล่าวจัดว่าเป็นเพื่อการทดสอบเบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยง แต่มิได้หมายความว่าจะปลอดความเสี่ยงจากภูมิแพ้ได้
ในปัจจุบันโรคภูมิแพ้ยังเป็นโรคที่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ผลกระทบในรูปของอาการในแต่ละคนก็มีต่างกัน ตัวอย่างของงานทดลองที่ตอกย้ำให้เห็นถึงความเสี่ยงของการใช้พืช GMOs เป็นอาหารในกรณีนี้ได้แก่ การทดลองย้ายยีนจากบราซิลนัทมาใส่ในถั่วเหลืองเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโปรตีน พบว่า ถั่วเหลืองที่ได้รับยีนสร้างสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้จากบราซิลนัทเกิดขึ้น โครงการดังกล่าวจึงได้ระงับไปก่อนที่จะมีการผลิตออกมาจำหน่ายจริง
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบว่าการตัดต่อยีนใดบ้างในลักษณะใดที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ได ้ดังนั้นการระแวดระวังและตรวจสอบก่อนการวางจำหน่าย จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2.3 ผลกระทบโดยตรงต่อภูมิคุ้มกัน
ความกังวลในเรื่องความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในประเด็นนี้ถูกจัดให้มีความสำคัญในระดับต้นๆเช่นเดียวกัน การบริโภคโปรตีนที่สร้างขึ้นจากยีนเป้าหมายหรือตัวยีนเป้าหมายเองอาจส่งผลในแง่ลบต่อภูมิคุ้มกันในระยะยาวได้ ตัวอย่างเช่น
ในงานทดลองของ Dr. Pusztai ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าวิจัยโปรตีนต่างๆในพืชอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะโปรตีนเลคติน (lectin) ซึ่งไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รายงานผลการทดลองที่ทำขึ้นขณะที่เขายังทำงานอยู่ที่สถาบัน Rowett Research Institute ที่สก๊อตแลนด์ว่า การทดลองให้หนูกินมันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรมที่มีการสร้างเลคติน เปรียบเทียบกันมันฝรั่งปกติที่เพิ่มสารเลคตินในปริมาณเท่ากัน พบว่า หนูชนิดที่ให้มันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรมมีภูมิคุ้มกันลดลง มีอาการบวมของลำไส้และน้ำหนักตัวลดลง ขณะที่ในมันฝรั่งปกติที่เพิ่มสารเลคตินไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงลบ
ผลการทดลองจะชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะมีความเสี่ยงในการบริโภค GMOs เกิดขึ้น แต่ รายงานของ Dr. Pusztai ก็ได้รับการตำหนิว่าไม่มีความสมบูรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เพราะการเกิดความผิดปกติในหนูอาจเกิดจากการขาดสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีนในมันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรมในชุดทดลองมีปริมาณน้อยกว่า 20 % ได้ด้วยเช่นกัน การทดลองยังคงดำเนินการอยู่ต่อไปเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำและเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้น
ไม่ว่าผลการทดลองของ Dr. Pusztai จะถูกต้องหรือไม่ อย่างน้อยที่สุดข้อวิจารณ์ต่างๆต่องานของเขาได้กระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์ตื่นตัวมาศึกษาความปลอดภัยในแง่การบริโภคมากยิ่งขึ้น
ปกติร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเมื่อได้รับโมเลกุลแปลกปลอมจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น ตัวอย่างเช่น ในเด็ก วัคซีนโปลิโอ ช่วยให้เด็กต้านทานโรคร้าย เมื่อเด็กได้รับโปรตีนของโปลิโอไวรัสวัคซีนดังกล่าวจะซึมเข้าทางเยื่อบุข้างแก้ม เยื่อบุทางเดินอาหารในส่วนต่างๆ และกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันในเด็กในท้ายที่สุด ปกติร่างกายจะตอบสนองต่อโมเลกุลแปลกปลอมตลอดเวลา ที่ผ่านมาอาหารส่วนใหญ่มาจากโมเลกุลธรรมชาติ การบริโภคพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีการแสดงออกของยีนใหม่ๆในอนาคตทำให้โอกาสได้รับโมเลกุลแปลกปลอมที่ต่างจากธรรมชาติเพิ่มมากยิ่งขึ้น ที่น่ากลัวคือถ้าโมเลกุลแปลกปลอมมีผลกระทบต่อร่างกายในรูปของพิษสะสมในระยะยาว หรือโมเลกุลแปลกปลอมเหล่านั้นเป็นส่วนของดีเอ็นเอที่ถูกออกแบบมาให้สามารถตัดต่อยีนเข้าสู่สิ่งมีชีวิตต่างชนิดได้โดยง่าย โอกาสที่ผู้บริโภคจะเสี่ยงก็มีสูงยิ่งขึ้น
2.4 ปัญหาการถ่ายทอดยีนจากการบริโภคอาหาร GMOs เข้าสู่ร่ายกายหรือการถ่ายยีนไปยังจุลชีพ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องยีนต้านทานยาปฏิชีวนะ
ในขณะที่สร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ยีนต้านทานยาปฏิชีวนะ เช่น ยีนต้านทานยาปฏิชีวนะคานามัยซิน (Kanamycin) ปัจจุบัน GMOs ที่วางจำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบันใช้ยีนดังกล่าวถึง 70-80 %
สมาคมการแพทย์แห่งประเทศอังกฤษ (British Medical Association) ได้เสนอให้รัฐบาลอังกฤษยับยั้งการปลูกและการนำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรม และอาหารที่ทำจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าการใช้ยีนต้านทานยาปฏิชีวนะในการคัดเลือกพืชดัดแปลงพันธุกรรม อาจทำให้มนุษย์และสัตว์ที่บริโภคอาหารที่ทำจากพืชเหล่านี้ไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคได้ต่อไป
ปัญหาของแบคทีเรียดื้อยาในโรงพยาบาลเป็นปัญหาในวงการสาธารณสุขอันหนึ่งที่ยังแก้ไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการสะสมตัวของเชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะ ในมะเขือเทศ และซอสมะเขือเทศ ที่อนุญาตจำหน่ายเป็นการค้าก็มียีนต้านทานยาปฏิชีวนะคานามัยซิน ซึ่งยาชนิดนี้ปกติใช้รักษาผู้ป่วยโรคปอดทูเบอร์โรโคซิส ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นโรคที่กลับเข้ามามีบทบาทรุนแรงอีกครั้ง
รายงานของ FDA ยืนยันว่าดีเอ็นเอในอาหารดัดแปลงพันธุกรรมไม่สามารถเล็ดลอดจากกระบวนการย่อยสลายของมนุษย์และสัตว์ได้ อย่างไรก็ดีจากการทดลองโดยผสมยีนเข้ากับอาหารให้หนูกิน พบว่ายีนส่วนใหญ่จะถูกย่อยสลายไปในระบบทางเดินอาหารในเวลาไม่กี่นาที แต่ส่วนหนึ่งแม้จะเป็นส่วนน้อยยังคงอยู่ในระบบทางเดินอาหารได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง และสามารถตรวจสอบต่อไปได้แม้ถูกขับออกมาในรูปมูลสัตว์ แม้ว่ายีนดังกล่าวไม่มีผลต่อการชักนำให้แบคทีเรียในทางเดินอาหารของหนูเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม แต่กลับตรวจพบยีนดังกล่าวในเซลเม็ดเลือดขาวและในตัวอ่อนของหนูที่กำลังตั้งครรภ์ การทดลองนี้ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่บริโภคผลิตภัณฑ์จาก GMOs
มีรายงานล่าสุดว่าผึ้งที่เลี้ยงโดยใช้ละอองเรณูจากเกสรเรปซีดที่ได้รับการตัดต่อยีนต้านทานยาปราบวัชพืชมีความเสี่ยงที่จะได้รับยีน โดยเมื่อนำมาศึกษาแบคทีเรียในทางเดินอาหาร จะพบว่า แบคทีเรียและยีสต์ ได้รับยีนต้านทานยาปราบวัชพืชจากอาหารในทางเดินอาหารแม้ว่าจะเกิดขึ้นในอัตราที่ต่ำก็ตาม ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงในการบริโภคในระยะยาว
รายงานในวารสาร Nature ฉบับเดือนพฤษภาคม 2000 ชี้ให้เห็นว่าชิ้นส่วนของยีนในธรรมชาติสามารถกระตุ้นให้แบคทีเรียได้รับยีนและส่งข้ามชนิดของแบคทีเรียได้ ปกติการถ่ายทอดยีนในปัจจุบัน ใช้พาหะออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้ใช้ถ่ายทอดยีนข้ามชนิดของสกุลไปมาระหว่างสิ่งมีชีวิตได้ บนพาหะเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมียีนต้านทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งได้จากโมบายอิลิเมนต์ (Mobile element) ที่มีคุณสมบัติแทรกตัวหรือหลุดออกจากชุดของสารพันธุกรรมได้เมื่อมีการแบ่งเซลเสมือนมีการเคลื่อนย้ายไปมาของยีน และแบคทีเรียเองสามารถถ่ายทอดยีนไปมาโดยกระบวนการคอนจูเกชั่นที่แลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมทางท่อที่สร้างขึ้นขณะเซลแบคทีเรียมาเกาะตัวกัน การเกิดรีคอมบิเนชั่น ยอมให้มีการสลับสับเปลี่ยนสารพันธุกรรมไปมา เป็นกลไกอีกอันหนึ่งที่ทำให้ความกังวลเรื่องการแพร่กระจายตัวของยีนต้านทานยาปฏิชีวนะมีสูงยิ่งขึ้น
แม้ว่าในปัจจุบันมีการวิจัยหายีนที่ช่วยในการคัดเลือกทดแทนยีนต้านทานยาปฏิชีวนะในรูปยีนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากน้ำตาลแมนโนส (Positech TM) แต่พืช GMOs ส่วนใหญ่ในท้องตลาดยังคงเป็นพืชรุ่นเก่าที่ใช้ยีนต้านทานยาปฏิชีวนะโดยเฉพาะคานามัยซิน
2.5 ผลกระทบอื่น
นอกจากผลกระทบในแง่สุขภาพพลานามัยแล้ว ผลกระทบที่สำคัญต่อการนำพืช GMOs มาประยุกต์ใช้ ยังส่งผลถึงสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศน์ และวิวัฒนาการในระยะยาวอีกด้วย
มีคำถามมากมายที่เกี่ยวข้องถึงผลกระทบด้านความปลอดภัย ความเสี่ยง และวิวัฒนาการ ที่อาจได้รับผลกระทบที่ยังไม่มีคำตอบ คำถามเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยสูงสุด มิใช่อยู่บนพื้นฐานของกฎเศรษฐศาสตร์ที่ชั่งน้ำหนักผลได้มากกว่าผลเสียเท่านั้น
แม้ว่าในปัจจุบันมีการพูดกันมากถึงประเด็น Low risk Absolutely low risk หรือ No risk ก็ตาม สำหรับมนุษย์ชาติ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ แล้วประเด็นสำคัญคือความปลอดภัยสูงสุด
คำถามภายใต้ความเสี่ยงที่ยังไม่สามารถให้ข้อสรุปได้ว่าปลอดภัยจริง ได้แก่ ความไม่รู้ว่า
1) ยีนที่ตัดต่อเข้าไปนั้นมีผลต่อความหลากหลายทางชนิดและพันธุกรรม ในปัจจุบันและอนาคตอย่างไร การตัดต่อยีน Bt toxin เพียงยีนเดียวเกิดผลกระทบต่อแมลงหลายชนิดที่พิสูจน์ได้ ผลดังกล่าวจะกระทบต่อการคงอยู่ของประชากรของแต่ละชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนั้นโดยตรง
2) จะเกิดวิวัฒนาการในระดับยีนของสิ่งมีชีวิตในระดับอนูย่อยที่เรียกว่า นาโนอีโคซิสเต็ม (nano ecosystem) และระดับมหภาค (macro ecosystem) หรือไม่ การถ่ายทอดยีนของสิ่งมีชีวิต ทั้งในแนวระนาบและแนวตั้งในระยะยาวยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่ยังต้องรอคอยคำตอบ การถ่ายทอดยีนข้ามกลุ่มของสิ่งมีชีวิต (Taxa) ยีนเหล่านี้จะวิวัฒนาการข้ามกำแพงชนิดพันธุ์ทางธรรมชาติ (Species barrier) ทำให้เกิดการคัดเลือกที่ผิดไปจากธรรมชาติ เช่น ในข้าวโพดที่มียีน Bt toxin อาจทำให้แมลงปรับตัวตาม และมีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลงไปได้ และในแง่ร้ายอาจทำให้สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจต้องสูญพันธุ์ไปได้เลยทีเดียว การมองข้ามผลของยีนและสภาพแวดล้อมร่วมกันโดยเจตนาใส่ยีนเหมือนใส่โปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงานนั้นมีผลเสียหรือไม่อย่างไร และคำถามที่สำคัญที่สุดคือ เจตนาที่จะบังคับธรรมชาติโดยการใส่ยีนโน้นยีนนี้เสมือนการบังคับให้เกิดวิวัฒนาการไปตามความต้องการทางเศรษฐศาสตร์ มากกว่าความต้องการทางธรรมชาติในรูปความพร้อมในตัวของสิ่งมีชีวิตเอง ที่เรียกว่า biological fitness เป็นเจตนาดีจริงหรือ ?
แม้ว่าการตัดต่อยีนสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม จะเปิดโอกาสให้มนุษย์นำเทคโนโลยีมาใช้สร้างหลักประกันทางปัจจัยสี่ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาหารและสุขภาพได้ โดยที่ประโยชน์ของตัวเทคโนโลยีที่มีอยู่สูงจะเป็นที่ยอมรับแล้วก็ตาม แต่เงื่อนไขทางด้านความเสี่ยงในปัจจุบันทำให้ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ว่าจะไม่เกิดความผิดพลาดขึ้น จึงเป็นประเด็นเงื่อนไขของเวลามากกว่า
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลในหลายๆ ประเทศที่มีความเป็นห่วงเป็นใยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมของเขา จึงลงเอยด้วยการตัดสินใจให้ความรู้แก่ประชาชน และให้ทางเลือกแก่ประชาชนในการรับรู้เพื่อตัดสินใจว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์จาก GMOs ในขณะนี้ได้
3. สถานการณ์ GMOs ในปัจจุบัน
จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภค พบว่า 97% ของคนยุโรปต้องการให้มีการระบุฉลากอย่างชัดเจน 85% ไม่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ GMOs ในสหรัฐอเมริกา จากการสำรวจโดยนิตยสาร Time เมื่อเดือนมกราคมพบว่า 81% ของคนอเมริกันต้องการให้มีการติดฉลาก GMOs
กระแสการต่อต้านสินค้า GMOs ที่มีความรุนแรงในทวีปยุโรปเป็นตัวเร่งเร้าให้เกิดกระแสต่อต้านในเอเชีย และสหรัฐอเมริกาตามมา ปัจจุบันผู้ซื้อต่างเสนอและเรียกร้องขอหลักฐานเพื่อแสดงความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้ต่อรองทางการค้านั้นเป็น Non-GMOs มากขึ้น และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของความต้องการระบบตรวจสอบและให้หลักประกันเพื่อยืนยันและให้ความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่เป็น Non-GMOs นั้นจะเก็บแยกออกจาก GMOs พร้อมๆ กับมีผลรับรองทางวิทยาศาสตร์กำกับ
ผู้ผลิตอาหารหลักเช่น Hain Food Group Inc Gerber and Heinz Pepsi Co’s Frito-lay Unilever ต่างก็เริ่มกำหนดนโยบายไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ GMOs ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาเองเริ่มมีนโยบายหลีกเลี่ยงสินค้าที่มีส่วนประกอบ GMOs ห้างเหล่านั้นได้แก่ TESCO Mark & Spencers Sainbury’s Asda Migros Co-op ประเทศในสหภาพยุโรปมีข้อกำหนดให้ติดฉลากสินค้าที่มีเปอร์เซ็นต์ GMOs เกิน 1 % และอนุญาตให้นำเข้าเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ขณะที่เกาหลีและญี่ปุ่นกำหนดมาตรฐานไว้ที่ 3 % และ 5 % ตามลำดับ
จากแนวโน้มดังกล่าว ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการต่างๆ รวมทั้งเกษตรกรไทยควรจะมองแนวโน้มนี้ให้ออก เพื่อการวางแผนการผลิต การส่งออก และการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าวัตถุดิบที่สำคัญได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เช่น ซอสมะเขือเทศ ที่สำคัญจากแหล่งหลัก คือ สหรัฐอเมริกา อาเจนตินา บราซิล ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็น GMOs ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นวัตถุดิบต้นตอในห่วงโซ่อาหารแปรรูป
อาหารเหล่านี้เริ่มเข้ามาปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารที่บริโภคภายในประเทศมากขึ้น จากการสุ่มตัวอย่างถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่วางขายในเขตกรุงเทพมหานครปนเปื้อนด้วยถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมในสัดส่วนที่สูง ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบได้แก่ ถั่วเหลืองบรรจุถุง 1 กิโลกรัม เต้าหู้แข็งปราศจากบรรจุภัณฑ์ เต้าหู้อ่อน น้ำนมถั่วเหลือง และน้ำนมถั่วเหลืองบรรจุขวด และมีแนวโน้มว่าจะมีการแพร่กระจายไปยังจังหวัดต่างๆในประเทศ นอกจากนี้ยังพบถั่วเหลืองพันธุ์พื้นเมือง มีโอกาสปนเปื้อนด้วยพันธุ์ GMOs ในสัดส่วนที่สูงด้วย
4.  เสถียรภาพและความมั่นคงในอาหาร
ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตอาหาร มีการพัฒนาเก็บรักษาพันธุ์พืชเป็นของตัวเอง และเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าเกษตรจากธรรมชาติ นอกจากนี้เสถียรภาพในการผลิตทำให้เราสามารถเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องนำเข้าอาหารในปริมาณที่มาก ในปัจจุบันขณะที่กระแสการต่อต้านอาหารดัดแปลงพันธุกรรมในยุโรปและหลายประเทศในเอเชียมีอยู่สูงขึ้นทุกขณะ ทำให้ราคาผลผลิตที่เป็นผลผลิตเกษตรธรรมชาติมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ประเด็นเหล่านี้ทำให้ไทยสามารถฉวยโอกาสประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรของไทยได้
วิธีการอย่างง่ายในการทำให้ผู้ซื้อมั่นใจ ได้แก่ การนำระบบการผลิตที่มีมาตรฐานเข้ามาประยุกต์ใช้ในการผลิต กล่าวคือ เกษตรกรจำเป็นต้องมีหลักฐานในเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ ภาครัฐบาลอาจจะต้องเข้ามากำกับดูแลว่าเมล็ดพันธุ์ปราศจาก GMOs มีบันทึกแหล่งเมล็ดพันธุ์ วันที่ปลูก แปลงปลูก ที่แยกตัว การใส่ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง การเก็บเกี่ยวแยกไม่ปะปน ขั้นตอนเหล่านี้ดูเหมือนยุ่งยากเนื่องจากไม่คุ้นเคยแต่ในความเป็นจริงสามารถทำได้โดยง่าย
ในภาคการผลิตให้มีข้อมูลแหล่งวัตถุดิบที่ซื้อ ผลการตรวจสอบวัตถุดิบนั้น (ถ้ามาจากพืชที่ใช้เมล็ดพันธุ์ปลอด GMOs อาจจะใช้ระบบคุณภาพทดแทนการตรวจสอบ) การขนย้ายที่แยกวัตถุดิบออกจากแหล่งวัตถุดิบแหล่งอื่น การจัดการในโกดังเก็บ แต่ละขั้นตอนมีการบันทึกที่สามารถตรวจค้นที่มาที่ไปได้และมีผู้รับผิดชอบตลอดเวลา ขณะผลิตมีการจดบันทึกและตรวจสอบตั้งแต่จุดเริ่มจนเสร็จสิ้นกระบวนการ
การทำเช่นนี้ความจริงแล้วเป็นการนำเอาระบบ Tracibility เข้ามาใช้ ซึ่งเป็นการสร้างหลักประกันให้กับผู้ซื้อได้ โดยที่ต้นทุนในแง่การลงทุนเพิ่มในการซื้อเทคโนโลยีและเครื่องจักรไม่มี เพียงแต่เสียเวลาและกำลังคนในการจัดระบบงานตรวจสอบบันทึก งานวางระบบทั้งหมด ให้เป็นระเบียบแบบแผนเท่านั้น การเพิ่มขั้นตอนดังกล่าวทำให้ผู้ซื้อมั่นใจในสินค้าส่งผลต่อการเพิ่มยอดขายได้ในทางอ้อม การนำระบบ Tracibility มาใช้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการจัดการให้เป็นระบบเท่านั้น ขณะการตรวจวัตถุดิบจริงจะทำเพียงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ซึ่งเป็นการประหยัดค่าการสุ่มตรวจมากกว่าการสุ่มตรวจโดยไม่มีการปรับปรุงระบบที่ทำกันในปัจจุบัน สำหรับการตรวจสอบว่าอาหารใดเป็น GMOs นั้น ภาครัฐควรจะเข้ามามีบทบาทให้การสนับสนุน ทั้งในระดับการให้ความรู้ หรือการจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบ หรืออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบกับหน่วยงานที่ให้บริการ ซึ่งจะทำให้ระบบมีความเป็นไปได้ ระบบดังกล่าวควรเร่งจัดทำให้ครอบคลุมระบบการผลิตหลายๆผลิตภัณฑ์ที่จำป็นต้องออกใบรับรองอย่างเร่งด่วน เช่น ในผลิตภัณฑ์ผลไม้ สมุนไพร เนื้อปลา อาหารทะเลต่างๆ ที่เป็นอาหารปลอด GMOs สำหรับบ้านเรา
นอกจากนี้ประเทศไทยควรจะดำรงสถานะความเป็นผู้ผลิตสินค้าปลอด GMOs โดยเริ่มจากการสงวนและผลิตพันธุ์ที่เป็น non-GMO ที่มีการตรวจสอบและมีใบรับประกัน
การควบคุมและระแวดระวังไม่ให้มีการนำพันธุ์พืช GMOs เข้ามาใช้เป็นหนทางที่ดีที่สุดในขณะนี้ ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยมีวิธีทำเขตกรรมที่ต่างไปจากประเทศสหรัฐอเมริกา การควบคุมไม่ให้เกิดการปนเปื้อนระหว่างสายพันธุ์ทำได้ยากมาก การป้องกันโดยการควบคุมจะดีกว่าการยอมให้มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ GMOs และปล่อยให้เกิดเป็นปัญหาในอนาคตได้ สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน ประเทศไทยควรเลือกหนทางในการผลิตทั้งวัตถุดิบการเกษตรและอาหารในลักษณะปลอด GMOs นอกจากจะเป็นการรักษาเสถียรภาพในการผลิตอาหารในระยะยาวแล้ว ยังเพิ่มความมั่นคงให้กับภาคการผลิต และภาคการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปอีกด้วย ซึ่งจะสอดคล้องกับกระแสการควบคุมสินค้า GMOs ในหลายๆประเทศ ผลดังกล่าวจะช่วยลดแรงกดดันในแง่ของการกีดกันทางการค้าระยะยาวได้
สำหรับผู้บริโภคในประเทศ การให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ GMOs อย่างเป็นระบบเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างวุฒิภาวะในการทำความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีใหม่นี้ การให้ความรู้อย่างเป็นระบบจะช่วยให้ผู้บริโภคลดความตื่นกลัว และทำความเข้าใจกับผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างความมั่นใจและเพิ่มทางเลือกโดยการออกกฏควบคุมติดฉลากผลิตภัณฑ์ GMOs เพื่อให้ผู้บริโภคมีสิทธิรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และเลือกบริโภคได้
สรุป
สินค้า GMOs เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันโดยการเข้ามาปะปนในห่วงโซ่อาหารมากยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เริ่มศึกษาความปลอดภัยในสินค้า GMOs มากยิ่งขึ้น และเริ่มมีรายงานผลทั้งในแง่บวกและลบหลายกรณี แม้จะเชื่อมโยงได้ว่าสินค้า GMOs นั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดความเสี่ยง แต่การพิสูจน์ในแต่ละกรณียังต้องใช้เวลา ขณะเดียวกันไม่สามารถระบุได้ว่าสินค้า GMOs ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการพิจารณาสินค้า GMOs จึงต้องศึกษาเป็นรายกรณีไป อย่างไรก็ดีสำหรับผู้บริโภคและผู้ผลิตในประเทศไทย การบริโภคและสนองตอบผู้บริโภคที่ปราศจากความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ขณะเดียวกันต้องให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร GMOs นี้ เพื่อให้เข้าใจและเท่าทันในเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในปัจจุบัน เพื่อก่อให้เกิดการผลิตที่ปลอดภัยและยั่งยืน ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศในอนาคต


เอกสารอ้างอิง
1.               Anonymous. 2000. Scientist finds evidence that bee bacteria have mutated, GM gene “can jump species”. http:// www. Freespeech . Org/ incite/apecen.htm.
2.               Butler, D. 1996. EU Urges National Action to Police Imports of Genetically Altered Maize. Nature. 384: 502-503.
3.               FAO/WHO. 1996. Biotechnology and food safety. FAO Food and Nutrition Paper 61, A Report on a Joint Consultation of the Food and Agriculture Organization of the United Nations and World Health Organization, Rome, Italy, Sept. 30-Oct.4.
4.               James, C.; Krattiger, A. F. 1996. Global Review of the Field Testing and Commercialization of Transgenic Plants. 1986-1995: The First Decade of Crop Biotechnology. ISAAA Briefs No. 1. ISAAA: Ithca, NY. pp. 31.
5.               Meyer, P; 1995. Understanding and Controlling Transgene expression. Trends in Biotechnology. 13: 332-337.
6.               Wilkinson, J. Q. 1997. Biotech plants : From Lab Bench to Supermaket Shelf. Food Technol. 51(12): 37-42.
7.               ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์. 2543. GMOs ฉบับผู้ประกอบการ. การสัมมนามาตรการและข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารของประเทศในทวีปยุโรป ระหว่างวันที่ 14-15 มีนาคม 2543 ณ ห้องประชุมใหญ่ สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก
8.               ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์. 2543. การสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมและประเด็นปัญหา. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนางานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 16 สิงหาคม 2543 มหาวิทยาลัยนเรศวร